คำตอบ : หากค่านายหน้าที่ได้รับเกิดจากการหาลูกค้าที่ต่างประเทศให้แก่บริษัทต่างประเทศ จะต้องนำค่านายหน้าที่ได้รับมาเสียภาษีในประเทศไทยต่อเมื่อได้นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยและอยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้นถึง 180 วัน
คำตอบ : หากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 15 จากดอกเบี้ยที่ได้รับแล้ว สามารถเลือกเสียภาษีโดยจะนำเงินได้จากดอกเบี้ยไปรวมหรือไม่รวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้
คำตอบ : ความรับผิดมีดังนี้ 1. รับผิดในจำนวนภาษีที่ต้องหักนำส่ง 2. รับผิดในเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน โดยคำนวณจากจำนวนภาษีที่ต้องนำส่งตาม 1. 3. หากไม่ได้ยื่นแบบนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้เลย ไม่ใช่ยื่นไว้ไม่ครบถ้วนต้องเสียค่าปรับทางอาญาอีกส่วนหนึ่ง
คำตอบ : ได้รับเครดิตภาษี 1 ใน 9 ส่วน เนื่องจากกิจการวิเทศธนกิจเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิไว้ในอัตราเพียงร้อยละ 10
คำตอบ : ไม่ได้สิทธิเลือกเสียภาษี เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 48 (5) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) ดังนั้นจึงต้องนำไปยื่นแบบแสดงรายการ
คำตอบ : เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) โดยถือเป็นประโยชน์ที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
คำตอบ : ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ เนื่องจากเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทย และไม่มีกฎหมายยกเว้นให้ไม่ต้องยื่นแบบ
คำตอบ : สามารถเลือกได้ว่าจะนำารวมคำนวณหรือไม่ ตามมาตรา 48 (4)
คำตอบ : ถ้าเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน) สามารถเลือกเสียภาษีโดยจะนำเงินปันผลไปรวมหรือไม่รวมคำนวณกับเงินได้ประเภท อื่นก็ได้ ตามมาตรา 48 (3) วรรคสอง
คำตอบ : ต้องยืนแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 ภายในเดือนกันยายนของทุกปี
คำตอบ : นำเงินแป๊ะเจี๊ยะที่ได้รับทั้งจำนวนมายื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 พร้อมชำระภาษี หรือจะนำเงินแป๊ะเจี๊ยะที่ได้รับมาเฉลี่ยตามจำนวนปีของ อายุการเช่า และนำส่วนที่เฉลี่ยเป็นของแต่ละปีมาคำนวณภาษี และยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 แยกเป็นรายปี พร้อมชำระภาษีของแต่ละปีเป็นการล่วงหน้าก็ได้
คำตอบ : เงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากคณะบุคคล โดยคณะบุคคลดังกล่าวได้เสียภาษีไว้แล้วนั้น เป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (14) จึงไม่ต้องนำมายื่นแบบแสดงรายการอีก
คำตอบ : กรณีร่วมกันเปิดบัญชีเงินฝาก ดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินของคณะบุคคล ดังนั้นคณะบุคคลจึงเป็นผู้มีเงินได้หากไม่เลือกเสียภาษีตามจำนวนที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 15 โดยต้องการจะยื่นแบบแสดงรายการ ก็ต้องยื่นในนามของคณะบุคคล
คำตอบ : เข้าลักษณะเป็นเงินพึงประเมินตามมาตรา 40 (2)แห่งประมวลรัษฎากร
คำตอบ : ต้องเสียภาษีในประเทศไทย เนื่องจากมีหลักแหล่งเงินได้อยู่ในประเทศไทย
คำตอบ : เป็นเงินได้พึงประเมิน 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
คำตอบ : หากเป็นการให้คำปรึกษาทั่วไปเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แต่หากเป็นการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย บัญชี เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6)
คำตอบ : เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6)
คำตอบ : เป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (3) ถ้าเป็นการเดินทางเข้ามาทำงานกับบริษัทนายจ้างเป็นครั้งแรก หรือเป็นการเดินทางเข้ามาทำงานกับนายจ้างเดิมหลังจากการจ้างครั้งก่อน สิ้นสุดลงเกินกว่า 365 วัน
คำตอบ : เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
คำตอบ : ชาวต่างชาติซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย จะได้รับสิทธิเครดิตภาษีจากเงินปันผลต่อเมื่อเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย คืออยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษีนั้น ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัาฎากร
คำตอบ : ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ของพนักงาน โดยค่าเล่าเรียนบุตรถือเป็นเงินได้ทั้งจำนวน ส่วนค่าเช่าบ้านนั้น ถือเป็นประโยชน์เพิ่มต้องนำมารวมคำนวณเช่นกัน สำหรับค่าเช่าบ้านให้ดู คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.23/2533
คำตอบ : ตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้ค่าเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายไปโดยสุจริต ตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่และได้จ่ายไปทั้งหมด เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงที่ได้รับการยกเว้นภาษี กรมสรรพากรได้มีการออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.59/2538 เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือปฏิบัติ โดยกำหนดให้เบี้ยเลี้ยงเดินทางที่จ่ายให้ไม่เกินกว่าอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการ ถือเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายไปโดยสุจริต ตามความจำเป็นและได้จ่ายไปทั้งหมดในการเดินทางนั้น
คำตอบ : ค่าชุดฟอร์มพร้อมค่าตัดดังกล่าว พนักงานได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (34)
คำตอบ : ไม่ได้รับยกเว้น เนื่องจากจ่ายเป็นการเหมา จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
เว้นแต่ระบุเงื่อนไขไว้เป็นอย่างอื่น เฉพาะงานสร้างสรรค์ของเว็บนี้ อนุญาตให้นำไปใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า ๓.๐