เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 นายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ เปิดเผยว่า จากการหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ได้ข้อสรุปว่า รัฐบาลจะช่วยเหลือธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าวัตถุดิบทุกชนิด
ตั้งแต่เพชร พลอย โลหะมีค่าต่างๆ
จากการปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ ทำให้มั่นในว่าในปีนี้ อุตสาหกรรมอัญมณีและ
เครื่องประดับจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 10% มีมูลค่าสูงกว่า 300,000 ล้านบาท
สูงกว่าปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่า 270,000 ล้านบาท
จากเดิมที่ตั้งเป้าการส่งออกขยายตัวไว้ 0%
โดยถ้าสามารถแก้ไขได้ภายในเดือนมี.ค.นี้ ก็จะทำให้ยอดส่งออกในเดือน
เม.ย.เพิ่มขึ้นอย่างทันที และในไตรมาส 2-4 จะเห็นผลอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าประเทศไทย ไม่มีวัตถุดิบในการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ จะเป็นต้องนำเข้าเกือบทั้งหมด
ดังนั้นการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในการนำเข้าวัตถุดิบ
จะทำให้วัตถุดิบจากทั่วโลก หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
จะทำให้อุตสาหกรรมอัญมณีโตอย่างก้าวกระโดด เหมือนเมื่อปี 2543
ที่รัฐบาลยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าทองคำ
ทำให้ยอดส่งออกสินค้าทองคำ เพิ่มจากปีละไม่กี่หมื่นล้าน
เพิ่มเป็นแสนล้านบาท
ซึ่งในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน จะทำให้อุตสาหกรรมอัญมณีขยายตลาดส่งออกได้อีก
มาก
อย่างไรก็ตาม สมาคมฯยังจะเสนอให้รัฐบาลหันไปเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
0.5-0.75% แทนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ซึ่งรัฐจะได้เงินตรงนี้ เพิ่มอีกหลายหมื่นล้านบาท
ทั้งนี้มาตรการดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตแล้ว
ยังทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีระดับโลกอีกด้วย
รวมทั้งจะมีเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้สมาคมฯ ยังได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์
เพื่อขออนุมัติงบประกันการส่งออก เพื่อช่วยสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ
ประมาณ 3,000 ล้านบาท คาดว่าอีก 2 สัปดาห์จะได้ข้อสรุป ซึ่งถ้าตรงนี้ผ่าน
ก็จะทำให้ผู้ส่งออกทำงานได้ง่ายขึ้น
เพราะทำให้ผู้ประกอบการให้เครดิตกับผู้ซื้อได้นานกว่าคู่แข่ง
และเงินจำนวนนี้รัฐก็ไม่ได้หายไปไหน เพราะเป็นวงเงินประกันการส่งออก
ไม่ใช้เงินให้เปล่า
สำหรับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกนั้น มองว่าจะกระทบกับไทยไม่มาก
และไทยยังมีศักยภาพมากกว่าประเทศคู่แข่งหลายประเทศ
เพราะที่ผ่านมา ไทยไม่ได้พึ่งพาการค้ากับสหรัฐฯเป็นหลัก
โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอัญมณี ได้กระจายคู่ค้าไปทั่วโลก
โดยส่งออกไปสหรัฐฯเพียง 15% สหภาพยุโรป 30% และประเทศต่างๆในเอเชียอีก
30-40%
นายวิชัย กล่าวต่อถึงการจัดงาน บางกอกเจมส์ แอนด์ จิวเวลรี่ แฟร์ ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคมนี้ ว่า
แม้ในปัจจุบัน จะมีงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมากมาย ทั้งในจีน
อินเดีย มาเก๊าและตะวันออกกลาง
แต่ด้วยแนวทางในการพัฒนาที่สมาคมฯได้วางไว้ สำหรับงานบางกอกเจมส์ แอนด์
จิวเวลรี่ แฟร์ ได้แก่ การเปลี่ยนคู่แข่งขันเป็นคู่ค้า
การหาช่องทางแลกเปลี่ยนพื้นที่การค้า การแสดงสินค้าระหว่างงานแสดงสินค้าในประเทศคู่แข่ง
โดยเฉพาะในตลาดจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง
การแสวงหาความร่วมมือทางการค้าในประเทศต่างๆ
รวมทั้งการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ร่วมงาน ตั้งแต่ออกเดินทางจนกระทั่งมาถึงเมืองไทย
นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มกิจกรรม Business Matching ในกลุ่มตลาดใหม่
และประเทศเป้าหมายอย่างเป็นระบบ ซึ่งในงานครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม Business
Matching ประมาณ 1,000 ราย สูงกว่าครั้งที่ผ่านมาที่มีเพียง 500-600 ราย
โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งผู้ค้ารายเก่าและรายใหม่
ในส่วนของผู้นำเข้าต่างชาติ ที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีประมาณ 5,000 ราย
สูงกว่าครั้งที่ผ่านมาที่มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 3,500 ราย
โดยคาดว่าจะมีมูลค่าการค้าที่เกิดจากงานนี้ไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท
ด้านนายสมชาย พรจินดารักษ์ ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการ บางกอกเจมส์
แอนด์ จิวเวลรี่ กล่าวถึงภาพรวมและรายละเอียดของการจัดงานบางกอกเจมส์
แอนด์ จิวเวลรี่ แฟร์ ว่า การจัดงานทุกครั้งได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม
และกลายเป็นงานแสดงอัญมณีและเครื่องประดับที่เหล่าผู้ประกอบการ ผู้ผลิต
นักออกแบบ
ตลอดจนประชาชนและผู้สนใจอัญมณีและเครื่องประดับจากทั่วโลกต่างรอคอย
ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทย ได้ประกาศศักยภาพทางการผลิตและการค้าอัญมณี ที่มีมาตรฐานระดับสากล
ตลอกจนได้แสดงผลงานออกแบบอัญมณี ในรูปแบบต่างๆ
ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ถึง การผสมผสานของวัฒนธรรมไทยกับการดำเนินชีวิตอย่างลงตัว
รวมถึงแสดงให้โลกได้เห็นว่า ประเทศไทยคือศูนย์กลางอัญมณีของโลกไว้เป็นหนึ่งเดียว
ที่มา – กรุงเทพธุรกิจ