ในช่วงชีวิตที่อะไรๆ ไปเป็นไปตามที่ใจหวัง และคาดการณ์วางแผนชีวิตได้ยากเนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถเตรียมการเผื่อเรื่องที่ไม่คาดฝันได้แน่นอนโดยการจัดทำพินัยกรรม

การทำพินัยกรรมสามารถกำหนดอะไรได้บ้าง?
• กำหนดผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดก
• กำหนดผู้ถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ได้รับมรดก
• กำหนดรายละเอียดทรัพย์สิน และสัดส่วนของทรัพย์สินที่จะต้องการจะมอบให้
• กำหนดรายละเอียดการจัดการศพ และพิธีศพ
• กำหนดบุคคลที่จะเป็น ”ผู้จัดการมรดก”

การทำพินัยกรรมมีกี่แบบ?
• พินัยกรรมแบบธรรมดา
• พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
• พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
• พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ
• พินัยกรรมทำด้วยวาจา

ถ้าหากว่าเคยทำพินัยกรรมไว้แล้วฉบับหนึ่ง สามารถจัดทำฉบับใหม่ได้หรือไม่?
• สามารถทำใหม่ได้

สามารถกำหนดผู้มีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลไว้ในพินัยกรรมได้หรือไม่?
• ผู้เขียนแนะนำให้จัดทำพินัยกรรมเผื่อตาย (Living Will) หรือหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขแทน

อย่างไรก็ตาม การทำพินัยกรรม มีรูปแบบตามกฎหมายที่ต้องจัดทำตาม มิฉะนั้นอาจส่งผลให้พินัยกรรมตกเป็นโมฆะบางส่วนหรือทั้งหมดได้ ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอแนะนำให้ปรึกษาหารือกับทนายความก่อนตัดสินใจจัดทำพินัยกรรมใดๆ ด้วยตนเอง