5.3 โครงสร้างที่สำคัญของสัญญาร่วมลงทุน (Joint Venture Agreement)
5.3.1 คู่สัญญาในสัญญาร่วมลงทุน (Parties in JV Agreement)
– คู่สัญญาเป็นใครบ้าง (บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล) และมีจำนวนเท่าใด
– ที่อยู่หรือสถานที่ทำการของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
5.3.2 วัตถุประสงค์ของกิจการร่วมค้า (JV Objective)
– ที่มาของโครงการร่วมลงทุน
– วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกิจการร่วมค้า
5.3.3 ชื่อและที่ตั้งของกิจการร่วมค้า (JV Name and Location)
5.3.4 หน้าที่และความรับผิดชอบของคู่สัญญาในกิจการร่วมค้า (Duties and Responsibilities of Parties to JV)
– มีข้อตกลงที่แสดงถึงการร่วมกันประกอบกิจการโดยมิได้มีการแบ่งแยกหรือแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
5.3.5 สัดส่วนการแบ่งผลกำไรขาดทุน การร่วมออกเงินทุน และภาระการค้ำประกันของคู่สัญญาในกิจการร่วมค้า (Proportion of Shares in Profits and Losses, Contribution of Investments, and Guarantee Burdens of Parties to JV)
– มีการลงทุนระหว่างผู้เข้าร่วมไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน แรงงาน หรือเทคโนโลยี
– มีข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมในผลกำไรและขาดทุนของกิจการ
– มีการรับค่าตอบแทนร่วมกัน
5.3.6 ความร่วมมือของกิจการร่วมค้า (JV Cooperation)
– จะไม่แข่งขันและหรือเข้าสู้ราคาเพื่อให้ได้รับสัญญาจ้าง
– จะไม่มีสิทธิให้ถ้อยแถลงในนามของกิจการร่วมค้าแต่ฝ่ายเดียว โดยมิได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
– ข้อเสนอและเงื่อนไขทางด้านราคาและเทคนิคที่จะใช้ในการประมูลเพื่อให้ได้รับสัญญาจ้างต้องได้รับความเห็นชอบจากคู่สัญญาทุกฝ่าย
– ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการร่วมลงทุน ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
5.3.7 การจ้างช่วงของกิจการร่วมค้า (JV Subcontracts)
5.3.8 การจัดการและบริหารกิจการร่วมค้า (JV Management and Administration)
– คณะกรรมการของกิจการร่วมค้า (JV Board)
– ผู้รับผิดชอบหลัก (Leading Company)
– ฝ่ายบริหารโครงการ (Project Management Team)/ ผู้จัดการโครงการ (Project Manager)
5.3.9 ระยะเวลาของกิจการร่วมค้า (JV Duration)
– มีผลเมื่อคู่สัญญาทุกฝ่ายได้ลงนาม และจะสิ้นผลเมื่อ
– ตัดสินให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ชนะการประกวดราคา
– การปฏิบัติงานที่จ้างในโครงการเสร็จสิ้น
– ระยะเวลาการรับประกันผลงานตามสัญญาจ้างสิ้นสุดลง
– ได้รับชำระเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายและนำมาแจกจ่ายให้กัน
– ข้อพิพาทใดๆ กับผู้ว่าจ้างหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่จ้างได้รับการแก้ไข
5.3.10 การเลิกสัญญา (Termination)
– คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด และไม่ได้ดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดนับแต่ได้รับคำบอกกล่าวเป็นหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้กระทำการใดอันถือว่าผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญามิได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10452-10453/2551)
– คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10452-10453/2551 ตัดสินว่า โจทก์กับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำสัญญากิจการร่วมค้าและอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ช. เป็นต่างหาก เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสี่จึงไม่อาจบอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวได้ แม้การเลิกสัญญา ช. จะได้ดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมาย การบอกเลิกสัญญากิจการร่วมค้าและอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสัญญาก็ไม่ชอบ
– มีหนี้สินล้นพ้นตัว/ เข้าประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ใด/ ถูกบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือถูกยึดอายัดทรัพย์สิน/ ผิดนัดชำระหนี้ต่อบุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ อันเป็นเหตุให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหาย
5.3.11 สัญญาอันหนึ่งอันเดียวแบ่งแยกมิได้และการแก้ไขเพิ่มเติม (Entire Agreement and Amendment)
– ถือเป็นการยกเลิกหนังสือโต้ตอบ สิ่งติดต่อที่เป็นหนังสือและวาจา และข้อตกลงที่เคยมีอยู่ก่อนแล้ว
– การแก้ไขเพิ่มเติมจะมีผลสมบูรณ์เมื่อคู่สัญญาทุกฝ่ายได้ตกลงและลงนามร่วมกันแล้ว
5.3.12 การโอนสิทธิ (Assignments)
– จะไม่โอนสิทธิ และ/หรือหน้าที่ตามสัญญาให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคณะกรรมการของกิจการร่วมค้า
5.3.13 กฎหมายที่ใช้บังคับ (Governing or Applicable Law)
– จะบังคับและตีความสัญญาตามกฎหมายไทย
5.3.14 ข้อพิพาทและการวินิจฉัย โดยอนุญาโตตุลาการ (Disputes and Arbitration)
– พยายามหลีกเลี่ยงข้อพิพาทและจะพยายามแก้ไขข้อพิพาทที่มีโดยฉันท์มิตร (Amicability)
– จะนำข้อพิพาทไปแก้ไขในขั้นสุดท้าย โดยวิธีการอนุญาโตตุลาการตามข้อบังคับว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม หรือตามข้อบังคับของ ICC Rules of Conciliation and Arbitration หรือ UNCITRAL Arbitration Rules เป็นต้น
– การจัดสรรภาระค่าใช้จ่ายจากการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
5.3.15 เอกสารแนบท้าย (Counterparts)
5.3.16 คำบอกกล่าว (Notices)
5.4 โครงสร้างที่สำคัญของสัญญา Consortium (Consortium Agreement)
5.4.1 คู่สัญญาในสัญญา Consortium (Parties in Consortium Agreement)
– คู่สัญญาเป็นใครบ้าง (บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล) และมีจำนวนเท่าใด
– ที่อยู่หรือสถานที่ทำการของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
5.4.2 วัตถุประสงค์ของ Consortium (Consortium Objective)
– ที่มาของโครงการ Consortium
– วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง Consortium
5.4.3 ชื่อและที่ตั้งของ Consortium (Consortium Name and Location)
5.4.4 หน้าที่และความรับผิดชอบของคู่สัญญาใน Consortium (Duties and Responsibilities of Parties to Consortium)
– คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่จ้างตามขอบเขตแห่งความรับผิดชอบตามส่วนของตนที่ตกลงไว้ในสัญญาเป็นการเฉพาะ ดังนั้นผลการประกอบการในโครงการไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน จึงขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงาน และการบริหารเงินลงทุน บุคลากร และค่าใช้จ่ายของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายที่ต่างไม่มีส่วนได้เสียหรือความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
– มีข้อตกลงแบ่งค่าตอบแทนของแต่ละฝ่ายออกจากกัน โดยต่างฝ่ายต่างออกใบแจ้งหนี้ และใบเสร็จรับเงินเฉพาะส่วนของตน
5.4.5 สัดส่วนการรับเอาภาระการค้ำประกันของคู่สัญญาใน Consortium (Proportion of Assumption in Guarantee Burdens of Parties to Consortium)
5.4.6 ความร่วมมือของ Consortium (Consortium Cooperation)
– จะไม่แข่งขันและหรือเข้าสู้ราคาเพื่อให้ได้รับสัญญาจ้าง
– จะไม่มีสิทธิให้ถ้อยแถลงในนามของ Consortium แต่ฝ่ายเดียว โดยมิได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
– ข้อเสนอและเงื่อนไขทางด้านราคาและเทคนิคที่จะใช้ในการประมูลเพื่อให้ได้รับสัญญาจ้างต้องได้รับความเห็นชอบจากคู่สัญญาทุกฝ่าย
– ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใน Consortium ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
5.4.7 การจ้างช่วงของ Consortium (JV Subcontracts)
5.4.8 การจัดการและบริหาร Consortium (Consortium Management and Administration)
– คณะกรรมการของ Consortium (Consortium Board)
– ผู้รับผิดชอบหลัก (Leading Company)
– ฝ่ายบริหารโครงการ (Project Management Team)/ ผู้จัดการโครงการ (Project Manager)
5.4.9 ระยะเวลาของ Consortium (Consortium Duration)
– มีผลเมื่อคู่สัญญาทุกฝ่ายได้ลงนาม และจะสิ้นผลเมื่อ
– ตัดสินให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ชนะการประกวดราคา
– การปฏิบัติงานที่จ้างในโครงการเสร็จสิ้น
– ระยะเวลาการรับประกันผลงานตามสัญญาจ้างสิ้นสุดลง
– ได้รับชำระเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายและนำมาแจกจ่ายให้กัน
– ข้อพิพาทใดๆ กับผู้ว่าจ้างหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่จ้างได้รับการแก้ไข
5.4.10 การเลิกสัญญา (Termination)
– คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด และไม่ได้ดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดนับแต่ได้รับคำบอกกล่าวเป็นหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
– มีหนี้สินล้นพ้นตัว/ เข้าประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ใด/ ถูกบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือถูกยึดอายัดทรัพย์สิน/ ผิดนัดชำระหนี้ต่อบุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ อันเป็นเหตุให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหาย
5.4.11 สัญญาอันหนึ่งอันเดียวแบ่งแยกมิได้และการแก้ไขเพิ่มเติม (Entire Agreement and Amendment)
– ถือเป็นการยกเลิกหนังสือโต้ตอบ สิ่งติดต่อที่เป็นหนังสือและวาจา และข้อตกลงที่เคยมีอยู่ก่อนแล้ว
– การแก้ไขเพิ่มเติมจะมีผลสมบูรณ์เมื่อคู่สัญญาทุกฝ่ายได้ตกลงและลงนามร่วมกันแล้ว
5.4.12 การโอนสิทธิ (Assignments)
– จะไม่โอนสิทธิ และ/หรือหน้าที่ตามสัญญาให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคณะกรรมการของ Consortium
5.4.13 กฎหมายที่ใช้บังคับ (Governing or Applicable Law)
– จะบังคับและตีความสัญญาตามกฎหมายไทย
5.4.14 ข้อพิพาทและการวินิจฉัย โดยอนุญาโตตุลาการ (Disputes and Arbitration)
– พยายามหลีกเลี่ยงข้อพิพาทและจะพยายามแก้ไขข้อพิพาทที่มีโดยฉันท์มิตร (Amicability)
– จะนำข้อพิพาทไปแก้ไขในขั้นสุดท้าย โดยวิธีการอนุญาโตตุลาการตามข้อบังคับว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม หรือตามข้อบังคับ ICC Rules of Conciliation and Arbitration หรือ UNCITRAL Arbitration Rules เป็นต้น
– การจัดสรรภาระค่าใช้จ่ายจากการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
5.4.15 เอกสารแนบท้าย (Counterparts)
5.4.16 คำบอกกล่าว (Notices)