พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศเป็นต้นไป
พระราชบัญญัติฯฉบับนี้ ได้แก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 3 เรื่องคือ
1. การทำซ้ำโดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ในโรงภาพยนตร์ตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ในระหว่างการฉายในโรงภาพยนตร์ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และ และมิให้นำมาตรา 32 วรรคสอง (2) มาใช้บังคับ คือ จะอ้างว่า บันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพ เพียงเพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท ไม่ได้
2. ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของวรรคสองของมาตรา 32 ของ พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
(9) ทำซ้ำ หรือดัดแปลง เพื่อประโยชน์ของคนพิการที่ไม่สามารถเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์อันเนื่องมาจากความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน สติปัญญา หรือการเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร ทั้งนี้ รูปแบบของการทำซ้ำหรือดัดแปลงตามความจำเป็นของคนพิการและองค์กรผู้จัดทำรวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการเพื่อทำซ้ำหรือดัดแปลงให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
3. 3. ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 69/1 แห่ง พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
มาตรา 69/1 ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 28/1 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดู ต้นฉบับ พรบ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ได้ที่ ไฟล์ด้านล่างนี้
https://www.dlo.co.th/files/law6-050258-14.pdf